แนวทางการปฏิรูปกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

ระบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทยที่มีพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 (พ.ร.บ. การแข่งขันฯ) เป็นกฎหมายหลักนั้นแม้จะมีพัฒนาการจากอดีตขึ้นมามากแต่ก็ยังมีปัญหามากมายทั้งในด้านเนื้อหาของกฎหมายและในด้านองค์กรผู้บังคับใช้ จุดเด่นที่สุดของ พ.ร.บ. การแข่งขันฯ ฉบับปัจจุบันคือการปรับปรุงให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) และสำนักงานฯ เป็นองค์กรอิสระ ในความหมายว่าการทำงานไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงพาณิชย์ ด้วยความมุ่งหวังให้การทำงานของหน่วยงานปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง มีผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเต็มเวลาและพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อรักษาการแข่งขันภายในตลาด

นอกจากนี้ พ.ร.บ. การแข่งขันฯ ยังได้ขยายวาระการดำรงตำแหน่งของ กขค. จากเดิม 2 ปี เป็น 4 ปี เพื่อให้ทำงานได้ต่อเนื่องมากขึ้น ทั้งนี้ กขค. ยังมีอำนาจในการสืบสวนคดีอาญาและอำนาจในการกำหนดโทษปรับทางปกครองรวมถึงฟ้องเป็นคดีปกครองเพิ่มขึ้นมาด้วย รวมถึงยังลดข้อยกเว้นของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าให้กับรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอำนาจผูกขาดบางส่วนจากอำนาจรัฐในอดีต โดยเหลือการยกเว้นเพียงการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ

อย่างไรก็ดี ภายในระยะเวลาประมาณ 6 ปีที่ผ่านมาหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ การที่บริษัทขนาดใหญ่สามารถควบรวมกิจการได้อย่างง่ายดาย การที่ กขค. ไม่สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ที่กำลังครอบครองส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญของประเทศอยู่ และการไม่จัดทำรายงานศึกษาสภาพการแข่งขันของตลาดเชิงลึก (market study) สวนทางกับความมุ่งหมายของกฎหมายที่ต้องการแก้ปัญหาการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเสรีภาพทางเศรษฐกิจของผู้เล่นในตลาดซึ่งย่อมรวมถึงผู้บริโภคด้วย ระบบเศรษฐกิจที่กระจุกตัวสูงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจยังไม่ถูกรับรองสำหรับทุกคนและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย

รายงานฉบับนี้ต้องการนำเสนอข้อเสนอเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิรูประบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสเรียกร้องการแก้ไขปัญหาการผูกขาดและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ และท่ามกลางความเคลื่อนไหวของหลายประเทศที่กำลังดำเนินการแก้ไขหรือปฏิรูประบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของตนเอง เพื่อรับมือกับกระแสการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและพลวัตทางเศรษฐกิจที่ลดลงทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

รายงาน/บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม

สร้างสรรค์ภาพ

วนา ภูษิตาศัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจก่อนเข้าปาก ย้อนถึงแปลงปลูก: ยกระดับความปลอดภัยอาหารด้วยการตรวจสอบย้อนกลับ

ภายหลังจากที่ตรวจพบสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท คนไทยต่างกังวลต่อความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคกันทุกวัน สิ่งนี้นำมาสู่คำถามว่าระบบการตรวจคุณภาพอาหารตามท้องตลาดของไทยมีข้อบกพร่องอย่างไร? และจะทำอย่างไรที่จะยกระดับอาหารในประเทศไทยให้ปลอดภัยขึ้น?

ปราบมิจฯ ให้อยู่หมัด ต้องมอบหน้าที่ให้ธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

ทำไมมิจฉาชีพยังลอยนวลหลอกหลอนคนไทยไม่เว้นวัน? แล้วต่างประเทศทำอย่างไรถึงปราบมิจฉาชีพได้อยู่หมัด?

อ่านดัชนีชี้วัดความก้าวหน้ารายจังหวัด: ก้าวต่อไปเพื่อพัฒนาไทยด้วยตัวชี้วัดแห่งอนาคต

ชวนอ่านบางส่วนจากเสวนา ‘วัด-ก้าว-เปลี่ยน’: ขับเคลื่อนจังหวัดผ่านตัวชี้วัดแห่งอนาคต ว่าด้วยการทำเครื่องมือชี้วัดบริบทพื้นที่ ผ่านดัชนีชี้วัดความสามารถรายจังหวัด (Provincial competitiveness index) และดัชนีความก้าวหน้าของสังคมรายจังหวัด (Social progress index)

30 October 2024

101 Public Policy Think Tank
ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะไทยในบริบทโลกใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มพลังให้ประชาชนสามารถตัดสินใจอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในเรื่องสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม

Copyright © 2024 101pub.org | All rights reserved.