Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the ultimate-addons-for-gutenberg domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /sites/101pub.org/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /sites/101pub.org/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6114
สุขภาพเด็กแรกเกิดไทย เรื่องใหญ่ที่ยังต้องกังวล - 101 PUB

สุขภาพเด็กแรกเกิดไทย เรื่องใหญ่ที่ยังต้องกังวล

ประเด็นสำคัญ

  • อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 8 ปีหลัง


  • ความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดในพื้นที่ยากจน และเหลื่อมล้ำมากที่สุดในเด็กวัยแรกเกิด


  • สวัสดิการเด็กปฐมวัยมีช่องโหว่ในช่วง 0-2 ปี แม่มีสิทธิ์ฝากครรภ์และทำคลอดฟรี แต่เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปแล้วกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐจนกว่าจะโตพอเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

สุขภาวะเด็กแรกเกิดไทย

4 สัปดาห์แรกของชีวิตคือช่วงเวลาที่เปราะบางที่สุดของเด็กแรกเกิด อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดภายใน 28 วัน (Neonatal Mortality Rate  หรือ NMR) จึงเป็นเครื่องชี้วัดสถานการณ์สาธารณสุขด้านแม่และเด็กตัวสำคัญที่ถูกใช้ทั่วโลก  แม้ NMR ของไทยจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก และบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกซึ่งควรมีค่าน้อยว่า 12 รายต่อทารก 1,000 คน[1]World Health Organization. (n.d.). Neonatal mortality rate (0 to 27 days) per 1000 live births) (SDG 3.2.2). Retrieved October 25, 2022, from https://www.who.int/data/gho/data/indicators/indicator-details/GHO/neonatal-mortality-rate-(per-1000-live-births) แต่แทนที่จะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตัวเลข NMR จากกระทรวงสาธารณสุขไทยกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 8 ปีหลัง[2]ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565. “อัตราการตายทารกแรกเกิดภายใน 28 วัน (Neonatal Mortality Rate : NMR).” 2565. นอกจากนี้อัตราทารกแรกเกิดไร้ชีพ (still birth)[3]ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2565). อัตราส่วนทารกแรกเกิดไร้ชีพ (Still Birth). http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/stillbirth/index?year=2021 และสัดส่วนเด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยก็ยังเพิ่มสูงขึ้นด้วย[4]ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2565). ร้อยละของทารกแรกเกิดน้าหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม. http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbw?year=2022

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดน้อยลงอยู่แล้ว สุขภาวะของสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดก็ยังถดถอยลงด้วย

สุขภาวะเด็กแรกเกินในไทยน่าเป็นห่วง

ความเหลื่อมล้ำตั้งแต่ลืมตาดูโลก

ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบสาธารณสุข ที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดลดลงอย่างมาก จากราว 11 รายต่อทารก 1,000 คนในปี พ.ศ.2545 เหลือเพียงราว 4 รายต่อทารก 1,000 คนในปัจจุบัน[5]ตัวเลขจากการประมาณการณ์ของ The United Nations Inter-agency Group for Child Mortality Estimation (UN IGME) ที่มา: https://childmortality.org/data/Thailand  กระนั้นตัวเลขดังกล่าวเป็นค่าเฉลี่ยรวมระดับประเทศ ซึ่งยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติให้ต้องพิจารณากันต่อไป

ความเหลื่อมล้ำกันในระดับพื้นฐานที่จะมีชีวิตรอดปลอดภัยนี้ เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก  กระทั่งในประเทศพัฒนาแล้วก็ยังคงพบว่าช่องว่างความเหลื่อมล้ำภายในไม่ลดลงหรือกระทั่งถ่างกว้างออก[6]Harpur, A., Minton, J., Ramsay, J., McCartney, G., Fenton, L., Campbell, H., & Wood, R. (2021). Trends in infant mortality and stillbirth rates in Scotland by socio-economic position, 2000–2018: A longitudinal ecological study. BMC Public Health, 21(1), 995.  ทารกที่เกิดในครอบครัวผิวดำในอังกฤษมีโอกาสรอดชีวิตถึงวันเกิด 1 ขวบเพียงครึ่งเดียวของทารกผิวขาว[7]Office for National Statistics. (2021). Births and infant mortality by ethnicity, England and Wales. ทารกในครอบครัวชนพื้นเมืองออสเตรเลียเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างฉับพลันหรือไหลตายมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นมากกว่า 3 เท่า[8]Shipstone, R. A., Young, J., Kearney, L., & Thompson, J. M. D. (2020). Applying a Social Exclusion Framework to Explore the Relationship Between Sudden Unexpected Deaths in Infancy (SUDI) and Social Vulnerability. Frontiers in Public Health, 8. งานวิจัยในสหราชอาณาจักรพบว่าเมื่ออัตราการเสียชีวิตของทารก (Infant Mortality rate) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง พ.ศ.2556-2560 ความสูญเสียเพิ่มขึ้นมากที่สุดในพื้นที่ยากจนซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งรุนแรงมากขึ้นอีก[9]Taylor-Robinson, D., Lai, E. T. C., Wickham, S., Rose, T., Norman, P., Bambra, C., Whitehead, M., & Barr, B. (2019). Assessing the impact of rising child poverty on the unprecedented rise in infant mortality in England, 2000–2017: Time trend analysis. BMJ Open, 9(10), e029424.

ในประเทศไทย นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม “30 บาทรักษาทุกโรค” มีผลลัพธ์ทางสาธารณสุขอย่างเห็นได้ชัด  อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลงทันที 13-30% ตั้งแต่ปีแรกของการดำเนินงาน[10]Gruber, J., Hendren, N., & Townsend, R. M. (2014). The Great Equalizer: Health Care Access and Infant Mortality in Thailand. American Economic Journal. Applied Economics, 6(1), 91.  อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลการดำเนินงานระยะยาวในปี พ.ศ.2557 กลับพบว่าความเหลื่อมล้ำด้านอัตราการมีชีวิตรอดบรรเทาลงในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปเท่านั้น แต่ยิ่งถ่างกว้างออกมากที่สุดในเด็กเล็กวัย 0-4 ขวบ[11]Aungkulanon, S., Tangcharoensathien, V., Shibuya, K., Bundhamcharoen, K., & Chongsuvivatwong, V. (2016). Post universal health coverage trend and geographical inequalities of mortality in Thailand. International Journal for Equity in Health, 15(1), 190. ดังนั้น แม้กระทั่งในช่วงที่อัตราการเสียชีวิตลดลงในภาพรวม สำหรับพ่อแม่เด็กอ่อนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ความเศร้าตรมนี้ยังคงได้รับการบรรเทาลงอย่างเชื่องช้า

ตัวเลขอย่างเป็นทางการของไทยมีค่าต่ำมากมาโดยตลอด ซึ่งเป็นผลมาจากการเก็บข้อมูลสถิติไม่ทั่วถึงในพื้นที่ห่างไกล เช่น เด็กบางรายอาจเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับการแจ้งเกิด[12]Lumbiganon, P., Panamonta, M., Laopaiboon, M., Pothinam, S., & Patithat, N. (1990). Why are Thai official perinatal and infant mortality rates so low? International Journal of Epidemiology, 19(4), 997–1000. หมายความว่าตัวเลขจริงของไทยอาจมีค่าเฉลี่ยและความเหลื่อมล้ำมากกว่าที่เห็น และแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ พ.ศ.2557  เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งจึงอาจเป็นผลของการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) ที่ครอบคลุมและสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นด้วย  การมีข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นทำให้ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาเร่งด่วนนี้  อย่างไรก็ดี มาตรการที่ได้ประกาศออกมา เช่น การเพิ่มจำนวนครั้งฝากครรภ์ฟรีจาก 5 เป็น 8 ครั้ง[13]สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2565). ยกระดับการให้บริการฝากครรภ์ เน้น ‘คุณภาพ-เท่าเทียม.’ https://www.nhso.go.th/news/3451 อาจยังไม่เพียงพอต่อการพลิกสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้

ช่องว่างของสวัสดิการเด็กเล็ก

สวัสดิการสำหรับสตรีมีครรภ์ในไทยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเปิดให้ฝากครรภ์ได้ฟรีทุกที่ ทุกสิทธิ์ และสนับสนุนค่าทำคลอด ทว่าเมื่อออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว ทารกแรกเกิดซึ่งเปราะบางที่สุด กลับเป็นวัยที่ได้รับสวัสดิการจากรัฐน้อยที่สุด

หากพิจารณานโยบายสวัสดิการและสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กของไทย จะพบว่าเต็มไปด้วยโครงการแนะนำวิธีการเลี้ยงดู ส่งเสริมภาวะโภชนาการ และติดตามพัฒนาการเด็กโดยกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากวัยแรกเกิดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการที่เด็กจะมีพัฒนาการสมบูรณ์แข็งแรงในระยะยาว ทว่าสวัสดิการที่จะสนับสนุนให้แม่สามารถให้นมลูก และมีเวลาเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพตามคำแนะนำเหล่านั้นมีน้อยมาก[14]คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2. (2562). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. และหากมีก็ครอบคลุมประชากรจำนวนน้อยมากเช่นกัน นโยบายส่งเสริมการตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการของกระทรวงแรงงานซึ่งร่วมกับมาตรการลดหย่อนภาษีให้นายจ้างของกระทรวงการคลัง นำมาสู่การจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบการได้เพียง 96 แห่งในปี พ.ศ.2565[15]สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (2565). กสร. ชู ‘วันสตรีสากล’ ลุยจัดสวัสดิการนอกเหนือกฎหมาย แนะกฎหมายควรรู้ส่งเสริมแรงงานหญิง. … Continue reading

การเลี้ยงดูเด็กอ่อนวัยก่อนอนุบาลหรือก่อนถึงเกณฑ์เข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงเป็นห้วงเวลาที่ครอบครัวไทยต้องดิ้นรนและช่วยเหลือกันเอง  การอุดช่องโหว่นี้อาจทำได้หลายวิธีด้วยกัน อาทิ ขยายสิทธิลาคลอดและวันลาเลี้ยงลูกให้ครอบคลุมช่วงวัยดังกล่าว   เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดให้เพียงพอและถ้วนหน้า ไปจนถึงการจัดสวัสดิการในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น อุดหนุนเป็นของใช้จำเป็นให้กับแม่แรกคลอด 

ตัวเลขการเสียชีวิตของทารกเพียง 1 คน หรือช่วงเวลาในการสร้างพัฒนาการที่เด็กคนหนึ่งพลาดโอกาสไป เป็นความสูญเสียที่ประเมินไม่ได้ ชดเชยให้ไม่ได้ไม่ว่าด้วยวิธีใด  ปัญหาข้างต้นนี้จึงควรถูกผลักดันให้เป็นวาระเร่งด่วน  ยื่นมือเข้าช่วยเหลือทุกครอบครัวอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง

References
1 World Health Organization. (n.d.). Neonatal mortality rate (0 to 27 days) per 1000 live births) (SDG 3.2.2). Retrieved October 25, 2022, from https://www.who.int/data/gho/data/indicators/indicator-details/GHO/neonatal-mortality-rate-(per-1000-live-births)
2 ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565. “อัตราการตายทารกแรกเกิดภายใน 28 วัน (Neonatal Mortality Rate : NMR).” 2565.
3 ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2565). อัตราส่วนทารกแรกเกิดไร้ชีพ (Still Birth). http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/stillbirth/index?year=2021
4 ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2565). ร้อยละของทารกแรกเกิดน้าหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม. http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbw?year=2022
5 ตัวเลขจากการประมาณการณ์ของ The United Nations Inter-agency Group for Child Mortality Estimation (UN IGME) ที่มา: https://childmortality.org/data/Thailand
6 Harpur, A., Minton, J., Ramsay, J., McCartney, G., Fenton, L., Campbell, H., & Wood, R. (2021). Trends in infant mortality and stillbirth rates in Scotland by socio-economic position, 2000–2018: A longitudinal ecological study. BMC Public Health, 21(1), 995.
7 Office for National Statistics. (2021). Births and infant mortality by ethnicity, England and Wales.
8 Shipstone, R. A., Young, J., Kearney, L., & Thompson, J. M. D. (2020). Applying a Social Exclusion Framework to Explore the Relationship Between Sudden Unexpected Deaths in Infancy (SUDI) and Social Vulnerability. Frontiers in Public Health, 8.
9 Taylor-Robinson, D., Lai, E. T. C., Wickham, S., Rose, T., Norman, P., Bambra, C., Whitehead, M., & Barr, B. (2019). Assessing the impact of rising child poverty on the unprecedented rise in infant mortality in England, 2000–2017: Time trend analysis. BMJ Open, 9(10), e029424.
10 Gruber, J., Hendren, N., & Townsend, R. M. (2014). The Great Equalizer: Health Care Access and Infant Mortality in Thailand. American Economic Journal. Applied Economics, 6(1), 91. 
11 Aungkulanon, S., Tangcharoensathien, V., Shibuya, K., Bundhamcharoen, K., & Chongsuvivatwong, V. (2016). Post universal health coverage trend and geographical inequalities of mortality in Thailand. International Journal for Equity in Health, 15(1), 190.
12 Lumbiganon, P., Panamonta, M., Laopaiboon, M., Pothinam, S., & Patithat, N. (1990). Why are Thai official perinatal and infant mortality rates so low? International Journal of Epidemiology, 19(4), 997–1000.
13 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2565). ยกระดับการให้บริการฝากครรภ์ เน้น ‘คุณภาพ-เท่าเทียม.’ https://www.nhso.go.th/news/3451
14 คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2. (2562). การพัฒนาเด็กปฐมวัย.
15 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (2565). กสร. ชู ‘วันสตรีสากล’ ลุยจัดสวัสดิการนอกเหนือกฎหมาย แนะกฎหมายควรรู้ส่งเสริมแรงงานหญิง. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52312

อินโฟกราฟฟิก

รายงาน/บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม

วิจัย/เขียน

สรัช สินธุประมา

สร้างสรรค์ภาพ

วนา ภูษิตาศัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

‘กล่องแรกเกิด’ ความเท่าเทียมก้าวแรกของชีวิต

101 PUB ชวนสำรวจสถานการณ์สุขภาพแม่และเด็กไทยวัยแรกเกิด พร้อมนำเสนอทางเลือกในการจัดสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน หรือ ‘กล่องแรกเกิด’ (baby box) เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสเริ่มต้นก้าวแรกของชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน

101 In Focus Ep.157: ‘กล่องแรกเกิด’ ความเท่าเทียมก้าวแรกของชีวิต

101 In Focus ชวนคุยกันเรื่องข้อเสนอทางเลือกในการจัดสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน คือ ‘กล่องแรกเกิด’ (baby box) เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสเริ่มต้นก้าวแรกของชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน

สังคมแบบไหนที่คนไทยอยากมีลูก?

101 PUB ชวนผู้อ่านสำรวจเหตุผลจากงานวิจัยว่าเพราะอะไรคนสมัยนี้จึงไม่อยากหรือไม่พร้อมมีลูก รวมถึงนำเสนอทางออกและความเป็นไปได้ทางนโยบาย

101 Public Policy Think Tank
ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะไทยในบริบทโลกใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มพลังให้ประชาชนสามารถตัดสินใจอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในเรื่องสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม

Copyright © 2024 101pub.org | All rights reserved.