101 In Focus Ep.124: บ้าน(เช่า)มั่นคงของคนเมืองมีอยู่จริงไหม

ทำไมการมีบ้านสักหลังจึงเป็นได้เพียง ‘ความฝัน’ ของเหล่าคนเมือง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว บ้านและที่พักอาศัยคือปัจจัยสี่ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่มนุษย์สมควรได้รับ และเมื่อมนุษย์ไม่อาจมีบ้านอันมั่นคงที่สร้างความปลอดภัย ความสะดวกสบายใจให้แก่เราได้ การจะประสบความสำเร็จในเงื่อนไขอื่น -ไม่ว่าจะหน้าที่การงาน การเรียน หรือมิติอื่นๆ ในชีวิต- ย่อมยากขึ้นตามไปด้วย

แน่นอนว่าที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายจัดสรรบ้านให้แก่ประชาชนหลายช่องทาง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร, โครงการบ้านส่วนใหญ่ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และโครงการบ้านประชารัฐ แต่เมื่อระยะเวลาล่วงผ่าน ใช่หรือไม่ว่าโครงการเหล่านี้อาจ ‘ไม่ตอบโจทย์’ ผู้คนเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะเมื่อมองจากข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าบ้านในเมืองสูงลิบลิ่วจนยากจะฝันถึง อย่าว่าแต่คนหาเช้ากินค่ำ ลำพังพนักงานเงินเดือนหรือชนชั้นกลางก็ยังรู้สึกลำบากใจหากต้องกัดฟันซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักหลัง ด้วยว่ามันไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ตัวเลขคนเมืองที่ยังต้องอาศัยในบ้านที่ไม่ได้มาตรฐานจึงพุ่งไปถึงสามล้านครัวเรือน

ยังไม่นับความเปลี่ยนแปลงในระยะหลังที่ผู้คนนิยมความยืดหยุ่นในการพักอาศัย ทั้งจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อาจต้องเปลี่ยนงานบ่อยจึงยังไม่อยากอยู่บ้านหลังใดหลังหนึ่งเป็นการถาวร หรือคนบางกลุ่มที่อาจต้องเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อยๆ ดังนั้น นโยบายจัดสรรบ้านของรัฐที่เน้นการขาย ไม่ใช่การเช่าเพียงชั่วคราว จึงอาจยังไม่ตอบโจทย์กระแสความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ดังนั้นแล้ว ทำอย่างไรรัฐจึงจะตอบสนองความต้องการตรงนี้ ทั้งการจัดสรรบ้านให้แก่ผู้คนได้อย่างครอบคลุม ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ กลุ่มชนชั้นกลางไปจนถึงกลุ่มคนอีกสามล้านครัวเรือนที่ยังต้องอยู่อาศัยในที่พักพิงซึ่งไม่ได้มาตรฐาน 101 In Focus สัปดาห์นี้ จึงชวนมาคิดหาหนทางว่า ‘บ้านในฝัน’ ที่อาจไม่ต้องเป็นความฝันของคนเมืองอีกต่อไปนั้นจะเป็นอย่างไร และมันเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

ดำเนินรายการโดย พิมพ์ชนก พุกสุข และ วรดร เลิศรัตน์

……..

อ่านเพิ่มเติม
บ้าน(เช่า)มั่นคงสำหรับทุกคน: ทางแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในเขตเมือง

ดำเนินรายการ

วรดร เลิศรัตน์

ดำเนินรายการ

พิมพ์ชนก พุกสุข

บทความที่เกี่ยวข้อง

Generation Clash: ก้าวข้ามความขัดแย้งแห่งยุคสมัย กับ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

สังคมแบบไหนที่ความขัดแย้งระหว่างรุ่นจะเกิดขึ้น? ความขัดแย้งระหว่างรุ่นในสังคมไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมามีทิศทางเปลี่ยนไปอย่างไร? เราเรียนรู้อะไรจากความขัดแย้งระหว่างรุ่นที่เคยเกิดขึ้นในสังคมอื่นได้หรือไม่? 101 สนทนากับกนกรัตน์ เลิศชูสกุล ว่าด้วยความขัดแย้งทางการเมืองแห่งยุคสมัยและหนทางในการก้าวข้าม

นโยบาย Upskill เติมทักษะใหม่ อุดหนุนแค่ค่าเรียนได้ผลหรือไม่

101 PUB สำรวจสถานการณ์การอัปสกิลของแรงงานไทยว่าตอบโจทย์ตรงจุดหรือไม่ หรือยังมีองค์ประกอบสำคัญอะไรที่ขาดหายไปในการถกเถียงนโยบายอัปสกิล

“ความช่วยเหลือไม่ใช่แค่การแจกเงิน แต่ต้องมองลึกถึงรายละเอียดปัญหา” สำรวจครอบครัวไทยในภาวะเปราะบาง กับ บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

101 ชวน ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตกุล เล่าประสบการณ์จากการลงพื้นที่สำรวจสภาวะครอบครัวเปราะบางในสังคมไทย ทั้งครอบครัวไทยและครอบครัวแรงงานข้ามชาติ

101 Public Policy Think Tank
ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะไทยในบริบทโลกใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มพลังให้ประชาชนสามารถตัดสินใจอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในเรื่องสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม

Copyright © 2022 101pub.org | All rights reserved.