Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the elasticpress domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /sites/101pub.org/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the health-check domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /sites/101pub.org/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6121
งบบริหารจัดการน้ำ: จัดสรรกันอย่างไร จะแก้น้ำท่วม/แล้งได้ไหม? - 101 PUB

งบบริหารจัดการน้ำ: จัดสรรกันอย่างไร จะแก้น้ำท่วม/แล้งได้ไหม?

ประเด็นสำคัญ

  • งบบริหารจัดการน้ำปี 2025 วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท คิดเป็นราว 1 ใน 5 ของงบลงทุนทั้งหมด ราว 88.3% อยู่ในมือของหน่วยราชการส่วนกลาง
     
  • งบประมาณถูกจัดสรรไปยังจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาคที่มีความครอบคลุมของพื้นที่ชลประทานเพียง 13.2% น้อยที่สุดในประเทศ โดยอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่ได้รับจัดสรรงบจัดการน้ำมากที่สุดติดต่อกัน 2 ปีซ้อน
     
  • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร คิดเป็นเพียงราว 1 ใน 3 ของวงเงินตามแผนปฏิบัติการน้ำ เกิดเป็นข้อน่ากังวลว่าคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ยังสามารถกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างการจัดการน้ำได้จริงมากน้อยเพียงใด

ไทยจัดสรรงบประมาณสำหรับบริหารจัดการน้ำกว่าหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี ทั้งยังมีการจัดทำแผนแม่บท 20 ปีและจัดตั้งองค์กรระดับชาติที่กำหนดยุทธศาสตร์น้ำมาตั้งแต่ปี 2017[1]สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. “ความเป็นมา”. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2024. http://www.onwr.go.th/?page_id=3992. ทว่าเมื่อเข้าฤดูฝนครั้งใดก็ปรากฏว่ายังคงเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเกือบ 9 แสนล้านไร่ กระทบชีวิตประชาชนกว่า 7.4 แสนคน[2]ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภัยพิบัติ https://disaster.gistda.or.th/  ชวนให้ตั้งคำถามว่าขณะที่น้ำไหลอยู่ที่นั่น งบประมาณจัดการน้ำไหลไปที่ไหน?

101 PUB ร่วมกับ WeVis วิเคราะห์งบประมาณ ’68[3]ชุดข้อมูลพัฒนาโดย กษิดิ์เดช คำพุช และณภัทร ดลภาวิจิตร ที่กำลังจะกลับเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต้นเดือนกันยายนนี้ เปิดดูว่างบบริหารจัดการน้ำถูกจัดสรรไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างไร ใครบ้างเป็นคนรับไปจัดสรร ยุทธศาสตร์การกระจายงบประมาณในปัจจุบันจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม/แล้งได้มากน้อยเพียงใด

อ.เทิง จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2024
ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

งบบริหารจัดการน้ำ ใช้ทำอะไร?

การบริหารจัดการน้ำมุ่งรักษาปริมาณน้ำให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปจนเอ่อท่วม และไม่น้อยเกินไปจนแล้ง 101 PUB กรองโครงการที่มีคำสำคัญเกี่ยวข้องกับโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ ฯลฯ จากเอกสารงบประมาณประจำปี 2025 ได้จำนวน 3,367 โครงการ งบประมาณรวม 111,392 ล้านบาท เกือบทั้งหมดเป็นงบลงทุนซึ่งถือเป็นหนึ่งในงบก้อนใหญ่ที่สุดของงบลงทุนแต่ละปี โดยในปีงบ ’68 งบโครงสร้างจัดการน้ำ[4]เฉพาะส่วนที่เป็นงบลงทุน 108,857 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 20.5% ของงบลงทุนทั้งหมด 532,217 ล้านบาท

งบประมาณส่วนใหญ่ลงไปกับโครงการเกี่ยวกับระบบและสิ่งก่อสร้างประกอบเพื่อส่งน้ำหรือระบายน้ำ อาทิ ประตูระบายน้ำ ฝาย คลองส่งน้ำ ฯลฯ (73.1%) รองลงมาคือสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันตลิ่ง (19.3%) สิ่งก่อสร้างสำหรับกักเก็บน้ำ/หาแหล่งน้ำใหม่ (7.2%) และจัดการคุณภาพน้ำ (0.3%) นอกจากนี้หากเลือกเฉพาะโครงการที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนว่ามุ่งจัดการน้ำท่วม จะคิดเป็นงบประมาณ 6,076 ล้านบาท หรือราว 5.5% ของงบจัดการน้ำทั้งหมดในปีงบ ’68

งบจัดการน้ำ ไหลไปตามปัญหา?

งบจัดการน้ำที่สามารถระบุตำแหน่งของโครงการได้ ลงไปยังจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาคที่ยังมีสัดส่วนพื้นที่ชลประทานน้อย ปัจจุบันไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมอยู่ราว 149 ล้านไร่ ขณะพื้นที่ชลประทานมีอยู่ราว 35 ล้านไร่ ครอบคลุมได้เพียง 22.9% เท่านั้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนพื้นที่ชลประทานต่อพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 13.2%[5]กรมชลประทาน (2565) และ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2565) คำนวณโดย 101 PUB ซึ่งต่ำที่สุดในประเทศ เกษตรกรภาคอีสานในพื้นที่ส่วนใหญ่จึงยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่โดยอาศัยโชคชะตาฟ้าฝน ทั้งในหน้าน้ำและหน้าแล้งมาจนถึงปัจจุบัน

จังหวัดที่ได้รับงบประมาณจัดการน้ำมากที่สุดได้แก่อุบลราชธานี ซึ่งได้รับงบประมาณมากที่สุดสองปีติดต่อกัน เป็นจำนวน 3,799 ล้านบาทในปีงบ ’67 และ 3,422 ล้านบาทในปีงบ ’68 อุบลราชธานีเป็นพื้นที่รับน้ำจากสองแม่น้ำสายหลักคือชีและมูล จึงเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมาซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 43 ปี[6]BBC Thai. “น้ำท่วมอุบลฯ 2565 ‘มันหนักกว่าที่เป็นข่าว’”. BBC News ไทย, 11 ตุลาคม 2022. https://www.bbc.com/thai/articles/cv29mnlj074o. และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้โครงการในอุบลราชธานีได้รับจัดสรรงบประมาณมากอย่างเห็นได้ชัด

รูปแบบของการทุ่มงบประมาณหลังภัยพิบัตินี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากการที่คนในรัฐบาลเริ่มประกาศว่าจะหยิบยกโครงการก่อสร้างเขื่อน ‘แก่งเสือเต้น’ ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหลังจากลงตรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในสี่จังหวัดภาคเหนือในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา[7]ฐานเศรษฐกิจ. “ภูมิธรรม ย้ำรัฐบาล เตรียมฟื้นแผนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น”. thansettakij, 1 กันยายน 2024. https://www.thansettakij.com/news/general-news/605591.

การกระจายตัวของงบประมาณบริหารจัดการน้ำปีงบประมาณ ’68

10 จังหวัดที่ได้รับงบประมาณบริหารจัดการน้ำมากที่สุดในปี 2025

ลำดับจังหวัดงบประมาณ (บาท)
1อุบลราชธานี3,421,550,500
2กาญจนบุรี2,369,670,500
3กรุงเทพมหานคร2,334,362,900
4สงขลา2,326,627,400
5นครศรีธรรมราช2,259,278,700
6นครราชสีมา2,234,103,800
7เชียงราย2,119,752,400
8นครพนม2,020,735,700
9บุรีรัมย์2,009,796,300
10เชียงใหม่1,903,027,300
หมายเหตุ: การกระจายตัวของงบประมาณต้องพิจารณาร่วมกับลักษณะภูมิประเทศและขนาดพื้นที่ของแต่ละจังหวัดซึ่งมีลักษณะปัญหาที่แตกต่างกัน

งบประมาณส่วนใหญ่อยู่ในมือส่วนกลาง

หน่วยงานที่ได้รับประมาณมากที่สุดสามอันดับแรกคือกรมชลประทาน (58.2%) สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีภารกิจพัฒนาพื้นที่ชลประทานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รองลงมาคือกรมโยธาธิการและผังเมือง (21.9%) สังกัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งใช้งบประมาณส่วนใหญ่ไปกับการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และกรมทรัพยากรน้ำ (5.0%) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

10 หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณบริหารจัดการน้ำมากที่สุดในปี 2025

ลำดับหน่วยงานงบประมาณ (บาท)
1กรมชลประทาน64,789,730,100
2กรมโยธาธิการและผังเมือง24,395,836,700
3กรมทรัพยากรน้ำ5,602,668,800
4การประปาส่วนภูมิภาค3,827,771,000
5กรมทรัพยากรน้ำบาดาล2,782,024,500
6กองบัญชาการกองทัพไทย1,380,000,000
7กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น930,244,000
8กรมพัฒนาที่ดิน613,083,000
9กรมเจ้าท่า558,418,400
10กรมประมง394,934,300

หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณมากเป็นลำดับต้น มักเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำโดยตรง หรือมีพื้นที่รับผิดชอบจำนวนมาก อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่น่าสนใจคือกองบัญชาการกองทัพไทยซึ่งได้รับงบประมาณสูงถึง 1,380 ล้านบาทซึ่งจัดสรรให้กับโครงการเพียงรายการเดียวเท่านั้นคือ ‘ค่าก่อสร้างและจัดหาแหล่งน้ำที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท’

สัดส่วนหน่วยรับงบประมาณด้านการบริหารจัดการน้ำในปีงบประมาณ’68

จะเห็นว่างบจัดการน้ำ 88.3% อยู่กับหน่วยราชการส่วนกลาง ขณะที่กรมชลประทานซึ่งมีบทบาทในการบริหารจัดการน้ำมากที่สุด เป็นหน่วยงานที่ไม่มีส่วนราชการระดับจังหวัด โดยจะใช้ชื่อหน่วยงานในแต่ละพื้นที่ว่า ‘โครงการ’ เช่น โครงการชลประทานเชียงราย ซึ่งขึ้นตรงต่ออธิบดีในส่วนกลาง แตกต่างไปจากหน่วยงาน อาทิ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ซึ่งขึ้นกับราชการส่วนภูมิภาค

ในขณะเดียวกัน จะเห็นว่างบจัดการน้ำที่ลงไปในหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับการบริหารจัดการพื้นที่มากยิ่งขึ้น เช่น ราชการส่วนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีเพียง 4.5% ส่วนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับงบประมาณเพียง 3.8% ซึ่งรวมถึงเงินอุดหนุนที่ได้รับจัดสรรผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแล้ว บทเรียนจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น[8]ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล. “น้ำท่วม แก้ได้ ต้องกระจายอำนาจ : คุยเรื่อง ‘น้ำท่วม 65’ กับ นักวิชาการด้านท้องถิ่น | ประชาไท Prachatai.com”, 10 ตุลาคม 2022. … Continue reading ซึ่งอาจต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการน้ำแต่ละระดับอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามจากแนวโน้มในปัจจุบันจะเห็นว่าโครงสร้างการจัดการและการกระจายงบประมาณที่ตามลงไปยังคงกระจุกตัวอยู่กับราชการส่วนกลางมาก

ยุทธศาสตร์น้ำที่ทำได้จริงครึ่งเดียว?

การจัดสรรงบบริหารจัดการน้ำในปัจจุบัน อยู่ในการดูแลของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งมีหน้าที่จัดทำ ‘แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ’ รวบรวมโครงการด้านน้ำที่หน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศจะดำเนินการในแต่ละปีเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเชื่อมโยงกับเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ ของประเทศ ซึ่งจะทำให้การจัดสรรงบประมาณมียุทธศาสตร์มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ประชาชนมักได้รับทราบแผนของ กนช.ในแต่ละปี แต่มักไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะมากนัก ว่าแผนปฏิบัติการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีสุดท้ายแล้วมีการลงมือทำจริงมากน้อยเพียงใด 

หากพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำในช่วงสามปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีกรอบวงเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มจาก 334,256 ล้านบาท เป็น 337,736 ล้านบาท[9]ผู้จัดการออนไลน์. “หวั่น! แผนบริหารน้ำ รบ.เศรษฐา ซ้ำซ้อน! งบฯ 67 กว่า 3.3 แสน ล. ที่ ‘ปธ.ป้อม’ เห็นชอบ – ‘มท.’ สั่ง จังหวัดขยายแผน งบฯ 68”, 25 กันยายน 2566. … Continue reading และ 440,431 ล้านบาท[10]ฐานเศรษฐกิจ. “ผ่า ‘แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ’ วงเงิน 4.4 แสนล้านบาท”. thansettakij, 6 มิถุนายน 2024. https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/597923. ในปีงบประมาณ 66-68 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ข้อมูลเท่าที่มีการเปิดเผยแสดงให้เห็นว่า หลังจากผ่านกระบวนการงบประมาณแล้ว โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณอาจมีเพียงราว 1 ใน 3 เท่านั้น Dashboard Thai Water Plan ระบุว่าในปีงบ ’66 มีโครงการตามแผนน้ำที่ได้รับจัดสรรเป็นวงเงิน 100,252 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้จริง 77,875 ล้านบาท หมายความว่าท้ายที่สุดแล้ว งบถูกนำไปใช้ดำเนินงานจริงตามแผนเพียง 23.3%

การที่วงเงินตามแผนมีจำนวนแตกต่างกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจริงค่อนข้างมาก ทำให้เกิดความน่ากังวลว่าการบริหารจัดการน้ำในแต่ละปีจะยังคงสอดคล้องกับ ‘ยุทธศาสตร์’ ที่ตั้งเอาไว้มากน้อยเพียงใด จากกรอบวงเงิน 440,431 ล้านบาท ในปีงบ ’68 กนช.ระบุว่าเป็นแผนที่สำคัญเร่งด่วน 222,355 ล้านบาท[11]ฐานเศรษฐกิจ. “ผ่า ‘แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ’ วงเงิน 4.4 แสนล้านบาท”. thansettakij, 6 มิถุนายน 2024. https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/597923. หากได้รับจัดสรรจริงราว 111,392 ล้านบาทตามที่ปรากฏในเอกสารงบประมาณ หมายความว่าโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์จะทำได้เพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เกิดเป็นคำถามว่า กนช. ในฐานะหน่วยงานที่ทำงานบูรณาการกับหน่วยงานด้านน้ำทั่วประเทศ มีการประสานงานกับสำนักงบประมาณซึ่งเป็นฝ่าย ‘ตัดงบ’ มากน้อยเพียงใด และยังคงเป็นผู้กุมทิศทางการจัดสรรงบประมาณให้ไหลไปสู่พื้นที่ที่ต้องการแก้ปัญหาน้ำให้ตรงจุดได้หรือไม่

References
1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. “ความเป็นมา”. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2024. http://www.onwr.go.th/?page_id=3992.
2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภัยพิบัติ https://disaster.gistda.or.th/
3 ชุดข้อมูลพัฒนาโดย กษิดิ์เดช คำพุช และณภัทร ดลภาวิจิตร
4 เฉพาะส่วนที่เป็นงบลงทุน 108,857 ล้านบาท
5 กรมชลประทาน (2565) และ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2565) คำนวณโดย 101 PUB
6 BBC Thai. “น้ำท่วมอุบลฯ 2565 ‘มันหนักกว่าที่เป็นข่าว’”. BBC News ไทย, 11 ตุลาคม 2022. https://www.bbc.com/thai/articles/cv29mnlj074o.
7 ฐานเศรษฐกิจ. “ภูมิธรรม ย้ำรัฐบาล เตรียมฟื้นแผนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น”. thansettakij, 1 กันยายน 2024. https://www.thansettakij.com/news/general-news/605591.
8 ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล. “น้ำท่วม แก้ได้ ต้องกระจายอำนาจ : คุยเรื่อง ‘น้ำท่วม 65’ กับ นักวิชาการด้านท้องถิ่น | ประชาไท Prachatai.com”, 10 ตุลาคม 2022. https://prachatai.com/journal/2022/10/100906.
9 ผู้จัดการออนไลน์. “หวั่น! แผนบริหารน้ำ รบ.เศรษฐา ซ้ำซ้อน! งบฯ 67 กว่า 3.3 แสน ล. ที่ ‘ปธ.ป้อม’ เห็นชอบ – ‘มท.’ สั่ง จังหวัดขยายแผน งบฯ 68”, 25 กันยายน 2566. https://mgronline.com/politics/detail/9660000086496.
10 ฐานเศรษฐกิจ. “ผ่า ‘แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ’ วงเงิน 4.4 แสนล้านบาท”. thansettakij, 6 มิถุนายน 2024. https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/597923.
11 ฐานเศรษฐกิจ. “ผ่า ‘แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ’ วงเงิน 4.4 แสนล้านบาท”. thansettakij, 6 มิถุนายน 2024. https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/597923.

อินโฟกราฟฟิก

วิจัย/เขียน

สรัช สินธุประมา

สร้างสรรค์ภาพ

สรัช สินธุประมา

สร้างสรรค์ภาพ

วนา ภูษิตาศัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไทยต้องสูญเสียอะไรบ้าง หากการแก้ปัญหาโลกรวนยังไปไม่ถึงไหน?

101 PUB ชวนสำรวจผลกระทบและความสูญเสียของ ‘วิกฤตโลกรวน’ ที่กำลังฉายชัดขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย พร้อมประเมินความพร้อมของแผนและนโยบายรับมือของไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รัฐบาลใหม่ต้องคิดใหญ่ ยกเครื่องประเทศไทยด้วยการลงทุนสีเขียว

เมื่อวิกฤตโลกรวนรอไม่ได้ การลงทุนสีเขียวหรือการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมขนานใหญ่ อาจเป็นโจทย์ที่ประเทศไทยต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย: ตีโจทย์ยุคโลกเดือดอย่างไรเพื่ออยู่ร่วมให้ได้-ไปต่อให้เป็น

ตีโจทย์วิจัยและนโยบายเพื่อรับมือ ‘โลกเดือด’ ผ่านข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดใหม่ว่าด้วยการผลิตอาหาร และความยุติธรรม

14 December 2023

101 Public Policy Think Tank
ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะไทยในบริบทโลกใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มพลังให้ประชาชนสามารถตัดสินใจอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในเรื่องสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม

Copyright © 2025 101pub.org | All rights reserved.