Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the elasticpress domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /sites/101pub.org/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the health-check domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /sites/101pub.org/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6121
7 หลุมบ่อบนเส้นทางบริหาร อบจ. - 101 PUB
7 หลุ่มบ่อบนเส้นทางบริหาร อบจ.

7 หลุมบ่อบนเส้นทางบริหาร อบจ.

ประเด็นสำคัญ

  • รัฐส่วนกลางกระจายแต่งาน ไม่กระจายอำนาจ ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระในการบริหารงาน เงิน คน อันเป็นสามอุปสรรคสำคัญที่ อปท.ทุกระดับต้องเผชิญ
     
  • อบจ. มีขอบเขตหน้าที่กว้างขวาง แต่ในการทำงานจริงกลับต้องขออนุญาตหน่วยราชการส่วนภูมิภาคไปทุกเรื่อง ทั้งยังต้องได้รับความยินยอมจากอปท.ใต้สังกัด เนื่องจากไม่มีพื้นที่กายภาพเป็นของตัวเอง อบจ. จึงกลายเป็น 'ท่อผ่านงบ' มากกว่าเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหารจังหวัดในภาพใหญ่
     
  • นายก อบจ. ยังต้องทำงานใต้เงาผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจตรวจสอบล้นมือ และถูกตีกรอบด้วยระเบียบมหาดไทยที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่ยืดหยุ่น ทำให้การจัดบริการสาธารณะให้ตอบโจทย์ประชาชนมีต้นทุนที่แพงโดยไม่จำเป็น

คนไทยใน 47 จังหวัดจะได้ออกไปลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริการส่วนจังหวัด (อบจ.) ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2025 นี้ แต่มองไปทางไหนก็มีแต่การพูดถึงสนามเลือกตั้งนี้ในฐานะสนามซ้อมเลือกตั้งใหญ่ระดับชาติในอีกสองปีข้างหน้า ราวกับว่าตำแหน่งนายก อบจ. ไม่ได้มีความหมายต่อการพัฒนาจังหวัดเท่าใดนัก

ทำไม อบจ. ถึงสร้างความเปลี่ยนแปลงในจังหวัดของตัวเองไม่ได้? ทำไมถึงมุ่งทำแต่ถนน? ทำไมถึงได้ทำงานเชื่องช้า? ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีสิทธิมีเสียงมาร่วมกันสำรวจพื้นผิวถนนบนเส้นทางบริหารงาน อบจ. ว่ามีอุปสรรคหลุมบ่ออะไรที่ทำให้การพัฒนาจังหวัดยังคงติดหล่มจมโคลน หลังจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเริ่มต้นมาแล้วถึง 25 ปี

งานแยกส่วน เงินไม่มี คนไม่พอ
ปัญหาคลาสสิกท้องถิ่นไทย

ตลอดระยะเวลา 25 ปีของการกระจายอำนาจที่ผ่านมาของไทย รัฐส่วนกลางถ่ายโอนภารกิจจำนวนมากให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รับไปทำ แต่กลับยังไม่ยอมปล่อยมือจาก ‘อำนาจ’ ในการบริหารจัดการงานเหล่านั้นแก่ผู้บริหารท้องถิ่น จนเกิดเป็นสามหลุมใหญ่ คือข้อจำกัดเกี่ยวกับอำนาจในการบริหาร ‘งาน-เงิน-คน’ ที่ไม่เอื้อให้ท้องถิ่นทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3 ปัญหาคลาสสิกท้องถิ่นไทย

หลุมที่ 1
งานแยกส่วน ให้อำนาจบริหารมาไม่ครบ

การถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นต้องสะดุดลงภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2014 แม้จะในเวลาต่อมาจะมีปัจจัยกระตุ้น เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เดินหน้าต่อ จนกระทั่งคืบหน้าไปแล้วราว 45.9% ใน 63 จังหวัด[1]The Coverage. 2024. ‘อัปเดต ตัวเลข “ถ่ายโอน รพ.สต. ปี 68” ล่าสุด’. 2024. https://www.thecoverage.info/news/content/7614.
แต่ภารกิจอื่นๆ ที่เหลือยังคืบหน้าไปน้อยมาก และมักเป็นการถ่ายโอนที่หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เลือกแบ่งงานให้แบบ ‘แยกส่วน’ ท้องถิ่นไม่สามารถรับไปบริหารได้เต็มที่ เพราะอำนาจถูกถ่ายโอนมาไม่ครบ ตัวอย่างเช่น การจัดบริการขนส่งสาธารณะ ที่ อบจ. ได้รับถ่ายโอนมาเฉพาะสถานีขนส่ง แต่เมื่อไม่มีอำนาจกำหนดเส้นทางเดินรถ ก็ยากที่จะบริหารให้เกิดบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ[2]สรัช สินธุประมา. 2023. ‘จัดความสัมพันธ์ท้องถิ่น-ส่วนกลางใหม่ ไปให้ถึงการ “ถ่ายโอนอำนาจ”’. 101 PUB . 27 กรกฎาคม 2023. https://101pub.org/next-step-devolution/.

หลุมที่ 2
เงินไม่มี เพราะขาดอิสระในการหาเงิน-ใช้เงิน

อบจ. เป็นส่วนราชการท้องถิ่นที่มีขอบเขตอำนาจหน้าที่กว้างขวาง และมีศักยภาพในการส่งเสริมการพัฒนาและจัดบริการสาธารณะที่มากกว่าท้องถิ่นระดับตำบลอย่างมาก ในปีงบประมาณ 2024 อบจ. ทั่วประเทศใช้งบประมาณเฉลี่ยจังหวัดละ 924 ล้านบาท[3]Rocket Media Lab (2025) คำนวนโดย 101 PUB แต่หากพิจารณาให้ลึกลงไปจะพบว่าอำนาจในการบริหารเงินของท้องถิ่นถูกจำกัดเอาไว้ในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ไม่สามารถระดมทุน เช่น ออกพันธบัตร ล็อตเตอรี ไม่สามารถกำหนดประเภทภาษีที่จัดเก็บได้เอง จนทำให้ต้องพึ่งพาเงินกว่า 88.8% จากส่วนกลาง โดยเงินอุดหนุนดังกล่าวก็มักมาพร้อมเงื่อนไข ไม่สามารถนำเงินไปบริหารได้อย่างอิสระ

หลุมที่ 3
คนไม่พอ เพราะส่วนกลางดึงอำนาจบริหารคนกลับคืน

ความไม่ไว้วางใจให้ท้องถิ่นบริหารตัวเองยิ่งรุนแรงมากขึ้นในสมัยรัฐบาลทหาร โดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560 ได้เรียกอำนาจในการบริหารจัดการบุคลากรของราชการส่วนท้องถิ่นกลับคืน และยังคงเป็นเช่นนั้นมาจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานท้องถิ่นไม่สามารถประกาศรับสมัคร คัดเลือก เลื่อนขั้น โอนย้ายบุคลากรได้เอง แต่จะต้องทำผ่านส่วนกลางเท่านั้น ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่คล่องตัว[4]สรวิศ มา. 2022. ‘ประเมินสถานะการกระจายอำนาจ: 2 ทศวรรษที่ยังไปไม่ถึงเป้า’. 3 พฤศจิกายน 2022. https://101pub.org/two-decades-decentralization/.
ยิ่งไปกว่านั้นโครงสร้างบุคลากรของหน่วยงานท้องถิ่นยังถูกกำหนดไว้อย่างตายตัว ไม่สามารถกำหนดตำแหน่งงานให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างเฉพาะตัวไปในแต่ละพื้นที่

ข้อจำกัดด้านการบริหารงาน-เงิน-คน ข้างต้น นับเป็นปัญหาระดับพื้นฐานที่ อปท. ทุกระดับต้องเผชิญ แต่สำหรับนายก อบจ. ยังมีอีกหลายหลุมบ่อรออยู่ข้างหน้าบนถนนสายนี้

อบจ. ไม่มีพื้นที่ของตัวเอง ผลักดันโครงการใหญ่ได้ยาก

หลุมที่ 4
อบจ. ไม่มีพื้นที่ของตัวเอง ผลักดันโครงการใหญ่ได้ยาก

ในขณะที่ภารกิจของเทศบาลและ อบต. มุ่งเน้นไปที่การจัดบริการสาธารณะระดับพื้นฐานที่ใกล้ชิดกับประชาชน อาทิ ระบบน้ำประปา จัดการขยะ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ อบจ. ซึ่งเป็นส่วนราชการระดับบนจะมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาในภาพกว้างขึ้น กำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัด เชื่อมประสาน อปท. ระดับย่อยให้ทำงานตอบเป้าหมายใหญ่

อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ อบจ. ไม่ได้มีพื้นที่ในทางกายภาพเป็นของตัวเอง อีกทั้งระเบียบยังกำหนดให้การดำเนินโครงการต่างๆ ต้องได้รับความยินยอมจาก อปท. ระดับล่าง อบจ. จึงถูกบีบให้ต้องต่อรองผลประโยชน์กับพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นในรูปแบบของการเกลี่ยงบประมาณให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) แต่ละคนนำไปซอยย่อยเป็นโครงการเล็กๆ จำนวนมาก การพัฒนาจังหวัดจึงเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ แทนที่จะรวมกันเป็นทิศทางการพัฒนาที่มุ่งไปสู่เป้าหมายใหญ่

ที่ผ่านมาโครงการส่วนใหญ่ที่ อบจ. ทำ จึงมักลงเอยเป็นการก่อสร้างถนนและอาคารซึ่งสามารถกระจายลงสู่ตำบลต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยในปี 2024 อบจ. ทั่วประเทศไทยใช้งบประมาณถึง 1 ใน 3 ไปกับงานอุตสาหกรรมและโยธา ซึ่งในจำนวนดังกล่าวคิดเป็นการสร้างและซ่อมถนนมากถึง 71.1%[5]Rocket Media Lab. 2025. ‘4 ปี อบจ. 76 จังหวัด ใช้งบค่าก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคในการทำถนน 71.11%’. 20 January 2025. https://rocketmedialab.co/pao-2025-collab-3/.

อบจ. จะทำอะไร ต้องขอ ‘อนุญาต’ ไปเสียทุกเรื่อง

หลุมที่ 5
อบจ. จะทำอะไร ต้องขอ ‘อนุญาต’ ไปเสียทุกเรื่อง

นอกจากคิดทำการใหญ่ได้ยาก แม้แต่ในเรื่องเล็กๆ ที่ อบจ. ควรทำได้ง่ายดายก็ยังมิวายมีหลุมบ่อดักรออยู่ในรูปแบบของพื้นที่อำนาจทับซ้อนกับราชการส่วนภูมิภาค การจะเข้าไปซ่อมแซมถนนเลียบคันคลองต้องขออนุญาตกรมชลประทาน การเข้าไปตัดแต่งกิ่งไม้ริมตลิ่งอาจต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า บ่อยครั้งที่การประสานขออนุญาตเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้กินเวลาหลายเดือนไปจนถึงหลักปี จนทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกเอือมระอา คิดว่าหน่วยงานท้องถิ่นทำงานเชื่องช้า ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วปัญหาเกิดจากการที่ท้องถิ่นไม่มีอำนาจบริหารจัดการได้อย่างแท้จริง

พื้นที่อำนาจทับซ้อนที่มีมากที่สุด ได้แก่พื้นที่ของกรมป่าไม้ โดยในปัจจุบันไทยมีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนถึง 6,906 หมู่บ้าน[6]กรมป่าไม้. ม.ป. ‘ระบบบริหารจัดการป่าชุมชน’. เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2025. https://fp.forest.go.th/rfd_app/rfd_community/app/index.php.
พื้นที่เหล่านี้เป็นชุมชนเมืองที่มีบ้านเรือน ถนน ระบบน้ำประปา มาตั้งแต่ก่อนถ่ายโอนให้ท้องถิ่นดูแล หรืออาจถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานในภายหลัง การจะเข้าไปปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง ซ่อมแซมถนนในพื้นที่เหล่านี้ ท้องถิ่นจะต้องทำเรื่องผ่านสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ซึ่งจะต้องส่งเรื่องต่อไปยัง ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ระดับภาค และบางกรณีต้องไปถึงอธิบดีกรมป่าไม้[7]คณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ. 2024. ‘บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ … Continue reading ในบางกรณี ท้องถิ่นอาจต้องวิ่งเต้นขออนุญาตจากราชการส่วนภูมิภาคถึง 19 ลายเซ็น ซึ่งทำให้กระบวนการล่าช้าอย่างมาก

อำนาจที่ทับซ้อนกันอยู่นี้ส่งผลให้มีคำขออนุญาตจากท้องถิ่นค้างพิจารณาอยู่กับกรมป่าไม้หลายแสนเรื่อง แม้จะมีความพยายามในการเร่งรัดเพื่อแก้ไขข้อติดขัดนี้บ้างแล้วในปีที่ผ่านมา แต่ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2024 พบว่ายังคงมีการค้างพิจารณาอยู่มากถึง 137,000 คำขอ[8]บ้านเมือง. 2024. “ท้องถิ่นเฮ! ‘เฉลิมชัย’ เร่งแก้ไขปัญหาการขอใช้พื้นที่ป่าไม้ ให้แล้วเสร็จเป็นของขวัญปีใหม่”. 2024. https://www.banmuang.co.th/news/region/400295.

ระเบียบไม่ยืดหยุ่น ทำต้นทุนบริการสาธารณะแพงโดยใช่เหตุ

หลุมที่ 6
ระเบียบไม่ยืดหยุ่น ทำต้นทุนบริการสาธารณะแพงโดยใช่เหตุ

นอกจากจะต้องเสียต้นทุนเวลาไปกับการรอคอยการอนุญาตจากส่วนกลาง อบจ. ยังต้องแบกรับต้นทุนจากการเบิกจ่ายที่ไม่ยืดหยุ่น แม้กระทั่งในเรื่องที่มีอำนาจทำได้เองโดยไม่ต้องขอใคร จนทำให้ต้นทุนของการจัดบริการสาธารณะมีราคาแพงโดยไม่จำเป็น

พลวัตการเมืองท้องถิ่นในห้วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มทำให้นโยบายท้องถิ่นเริ่มปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ให้รองรับผู้ปกครองที่อาจต้องทำงานค้าขายในเวลากลางคืน หรือในวันเสาร์-อาทิตย์[9]ทุนท้องถิ่น. 2024. “‘ศูนย์เด็กเล็ก 365 วัน’ ความฝันดูแลเด็กไทยให้ดีเหมือนที่เดนมาร์ก ของ ‘นายกฯ อบต. เชิงทะเล’”. 2024. … Continue reading ผู้บริหารท้องถิ่นที่เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้สามารถเซ็นอนุมัติขยายเวลาบริการ ศพด. ได้ทันที แต่ทว่าไม่สามารถเบิกเงินออกมาใช้ดำเนินงานได้ เนื่องจากระเบียบการเบิกจ่ายของกระทรวงมหาดไทยไม่อนุญาตให้เบิกค่านม และค่าครูพี่เลี้ยงได้นอกวันและเวลาราชการ อปท. บางแห่ง เลี่ยงไปใช้วิธีเขียนโครงการขึ้นมาโดยเบิกจ่ายเป็นค่าอาหารว่าง และค่าวิทยากรซึ่งต้องจ่ายในราคาที่สูงขึ้น สร้างความยุ่งยาก และยังเสี่ยงถูกกล่าวหาว่าทุจริตหากมีการเพ่งเล็งตรวจสอบ 

อีกหนึ่งบริการสาธารณะที่ประชาชนในหลายจังหวัดเฝ้าฝัน ได้แก่ระบบขนส่งมวลชน ซึ่งอำนาจในการบริหารจัดการยังคงอยู่กับกรมการขนส่งทางบก ความพยายามที่ผ่านมาเคยทำให้นายก อบจ. ถูกพักงานมาแล้วจากกรณีจัดบริการขนส่งสาธารณะที่ขาดทุน[10]สำนักข่าวอิศรา. 2015. “ชัดๆ ข้อกล่าวหา ‘นายกอบจ.ภูเก็ต’ ก่อนถูก”บิ๊กตู่”ใช้ ม.44 สั่งระงับปฏิบัติหน้าที่”. 28 มิถุนายน 2015. https://isranews.org/content-page/item/39567-report_39567.html.
ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้โครงการที่มุ่งตอบโจทย์การขนส่งแก่ประชาชน จำต้องหลีกเลี่ยงนิยาม ‘ขนส่งสาธารณะ’ เพื่อให้ดำเนินการได้ เช่น เดินรถในเส้นทางที่ไม่ประจำ หรือไม่เก็บค่าบริการจากผู้ใช้ โดยต่ออายุการ ‘ทดลองเดินรถ’ ออกไปเรื่อยๆ 

นายก อบจ. ต้องทำงานภายใต้เงาผู้ว่าราชการจังหวัด

หลุมที่ 7
นายก อบจ. ต้องทำงานภายใต้เงาผู้ว่าราชการจังหวัด

แม้เส้นทางการบริหารงาน อบจ. จะเต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ แต่ผู้บริหารท้องถิ่นที่มีความสามารถก็อาจหาทางก้าวข้ามหลุมบ่อข้างต้นมาได้ โดยอาจต้องแลกกับต้นทุนการบริหารที่สูงขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม หลุมลึกฉกรรจ์ที่สุดซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้พ้นก็คือการต้องทำงานอยู่ใต้เงาของผู้ว่าราชการจังหวัดในทุกย่างก้าว

พระราชบัญญัติองค์การบริการส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งมีการเพิ่มขอบเขตอำนาจกำกับดูแลโดยส่วนกลางมากขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบันผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการสอบสวน พักงานผู้บริหาร อบจ. สามารถเสนอให้รัฐมนตรีให้นายก อบจ. พ้นจากตำแหน่ง รวมไปจนถึงการเพิกถอนมติและยุบสภาท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้ว่าฯ ยังมีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ อบจ.[11]พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ซึ่งบีบให้ อบจ. จำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดที่ผู้ว่าฯ เป็นคนร่างไปโดยปริยาย

ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน นายก อบจ. จึงต้องทำงานตอบสนองแนวนโยบายของส่วนกลางมากกว่าตอบสนองความต้องการประชาชนที่ลงคะแนนเสียงให้ และในขณะที่นายก อบจ. ยังถูกถ่วงดุลด้วย ส.อบจ. ที่ยึดโยงกับประชาชน การใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานของ อบจ.โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกลับเป็นสิ่งที่ตัดขาดจากประชาชนและตรวจสอบได้ยากยิ่ง 

ความหวังของการซ่อม ‘หลุม’ กระจายอำนาจ

บรรยากาศการแข่งขันในสนาม อบจ.ที่ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องการประลองกำลังของนักการเมือง ‘บ้านใหญ่’ และพรรคการเมืองระดับชาติเพื่อปูทางไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2027 ยิ่งตอกย้ำว่าเก้าอี้ผู้บริหารจังหวัดตัวนี้แทบไม่มีความหมายต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนในจังหวัดอย่างที่ควรเป็น ขณะเดียวกันความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายสำคัญ หรือกระทั่งการยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ริบอำนาจคืนไปตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ[12]The Coverage. 2024. “สภาฯ ตีตก ‘ร่าง กม.บริหาร ขรก.ท้องถิ่น’ หลัง กมธ.เสนอแก้เพิ่มเติม | TheCoverage.info”. 2024. https://www.thecoverage.info/news/content/7663.

แม้จะยังไม่เห็นทางของการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างอำนาจตามกฎหมาย แต่หลุมบ่อเหล่านี้ก็อาจไม่ได้อยู่ทนถาวรอย่างที่คิด ระเบียบที่ไม่สมเหตุสมผลหลายเรื่องเริ่มถูกตั้งคำถามและเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เห็นบ้างแล้ว อาทิ การปรับลดขั้นตอนในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้ที่ดินเพื่อสาธารณะประโยชน์เพื่อให้ท้องถิ่นทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 29 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา การเปิดให้ท้องถิ่นสามารถเปิดกิจการรถโดยสารสาธารณะได้ในปี 2024[13]https://www.dhr.go.th/post/publicity/891 รวมไปจนถึงการถ่ายโอน รพ.สต. ที่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการทบทวนอำนาจบริหารบุคลากรของ อปท. เสียใหม่[14]The Coverage. 2024. “‘กม.บริหาร ขรก.ท้องถิ่น’ ถ้าไม่ให้อิสระ อปท.บรรจุ ขรก.เอง กระทบ ‘ถ่ายโอน รพ.สต.’ แน่”. 2024. https://www.thecoverage.info/news/content/7668.

ความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการต่อรองกับอำนาจส่วนกลางยังคงมีพลวัตอยู่ตลอด และเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าผลการเลือกตั้งในวันพรุ่งนี้จะส่งผลอย่างไรต่อแนวโน้มการผลักดันให้การกระจายอำนาจเดินหน้าต่อ หลังจากย่ำอยู่กับที่มานานถึง 1 ใน 4 ศตวรรษ

References
1 The Coverage. 2024. ‘อัปเดต ตัวเลข “ถ่ายโอน รพ.สต. ปี 68” ล่าสุด’. 2024. https://www.thecoverage.info/news/content/7614.
2 สรัช สินธุประมา. 2023. ‘จัดความสัมพันธ์ท้องถิ่น-ส่วนกลางใหม่ ไปให้ถึงการ “ถ่ายโอนอำนาจ”’. 101 PUB . 27 กรกฎาคม 2023. https://101pub.org/next-step-devolution/.
3 Rocket Media Lab (2025) คำนวนโดย 101 PUB
4 สรวิศ มา. 2022. ‘ประเมินสถานะการกระจายอำนาจ: 2 ทศวรรษที่ยังไปไม่ถึงเป้า’. 3 พฤศจิกายน 2022. https://101pub.org/two-decades-decentralization/.
5 Rocket Media Lab. 2025. ‘4 ปี อบจ. 76 จังหวัด ใช้งบค่าก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคในการทำถนน 71.11%’. 20 January 2025. https://rocketmedialab.co/pao-2025-collab-3/.
6 กรมป่าไม้. ม.ป. ‘ระบบบริหารจัดการป่าชุมชน’. เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2025. https://fp.forest.go.th/rfd_app/rfd_community/app/index.php.
7 คณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ. 2024. ‘บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 34’. https://web.parliament.go.th/assets/portals/123/fileups/515/files/034_บัยทึกการประชุม%20ค34%20ว30ตค67%20ป้อม.pdf.
8 บ้านเมือง. 2024. “ท้องถิ่นเฮ! ‘เฉลิมชัย’ เร่งแก้ไขปัญหาการขอใช้พื้นที่ป่าไม้ ให้แล้วเสร็จเป็นของขวัญปีใหม่”. 2024. https://www.banmuang.co.th/news/region/400295.
9 ทุนท้องถิ่น. 2024. “‘ศูนย์เด็กเล็ก 365 วัน’ ความฝันดูแลเด็กไทยให้ดีเหมือนที่เดนมาร์ก ของ ‘นายกฯ อบต. เชิงทะเล’”. 2024. https://xn--72c4abajd1l8b4a0og.com/2024/06/28/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.
10 สำนักข่าวอิศรา. 2015. “ชัดๆ ข้อกล่าวหา ‘นายกอบจ.ภูเก็ต’ ก่อนถูก”บิ๊กตู่”ใช้ ม.44 สั่งระงับปฏิบัติหน้าที่”. 28 มิถุนายน 2015. https://isranews.org/content-page/item/39567-report_39567.html.
11 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562
12 The Coverage. 2024. “สภาฯ ตีตก ‘ร่าง กม.บริหาร ขรก.ท้องถิ่น’ หลัง กมธ.เสนอแก้เพิ่มเติม | TheCoverage.info”. 2024. https://www.thecoverage.info/news/content/7663.
13 https://www.dhr.go.th/post/publicity/891
14 The Coverage. 2024. “‘กม.บริหาร ขรก.ท้องถิ่น’ ถ้าไม่ให้อิสระ อปท.บรรจุ ขรก.เอง กระทบ ‘ถ่ายโอน รพ.สต.’ แน่”. 2024. https://www.thecoverage.info/news/content/7668.

อินโฟกราฟฟิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

จัดความสัมพันธ์ท้องถิ่น-ส่วนกลางใหม่ ไปให้ถึงการ ‘ถ่ายโอนอำนาจ’

101 PUB ชวนทบทวนการกระจายอำนาจที่ผ่านมา ชวนสำรวจเครื่องมือ กลไกขับเคลื่อนทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวในไทยและต่างประเทศ เพื่อผลักดันการ ‘ถ่ายโอนอำนาจ’ เต็มขั้นให้ท้องถิ่นซึ่งจะต้องเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว

ประเมินสถานะการกระจายอำนาจ: 2 ทศวรรษที่ยังไปไม่ถึงเป้า

101 PUB ชวนสำรวจสถานะของการกระจายอำนาจท้องถิ่นในประเทศไทยในช่วงเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาว่ามีพลวัตเป็นอย่างไรและมีปัญหาใดบ้างที่รอการแก้ไขเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการได้ดีกว่าที่เป็นอยู่

Policy What! EP.25: 7 หลุมบ่อ บนเส้นทางบริหาร อบจ.

ทำไมจังหวัดของเราถึงไม่มีขนส่งสาธารณะดีๆ? ทำไม อบจ. ถึงชอบทำแต่ถนน? ทำไมท้องถิ่นถึงได้ทำงานช้า? ขอชวนมาสำรวจพื้นผิวถนนบนเส้นทางบริหารงานอบจ. ว่ามีอุปสรรคหลุมบ่ออะไรที่ทำให้การพัฒนาจังหวัดยังคงติดหล่มจมโคลน

101 Public Policy Think Tank
ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะไทยในบริบทโลกใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มพลังให้ประชาชนสามารถตัดสินใจอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในเรื่องสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม

Copyright © 2025 101pub.org | All rights reserved.